วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 1 ช่วย 9 ในรอบปีที่ผ่านมา



บันทึกการดำเนินงานของสถานศึกษาแกนนำรอบที่ 1
(ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันายน 2555)
ชื่อสถานศึกษาแกนนำ  โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน



 

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เปิดรับสมัครโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ 1 ช่วย 9 รอบพิเศษ


ด้วยโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.)ให้เป็นโรงเรียนแกนนำในการพัฒนาเครือข่ายการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับโรงเรียนตามโครงการ 1 ช่วย 9 ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ซึ่งทางโรงเรียนได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU)กับทางสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ไปแล้วนั้น เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนขอนแก่นวิทยายนจึงเปิดรับสมัครเพื่อคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ซึ่งหากโรงเรียนของท่านมีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการสามารถดาวน์โหลดใบสมัครจากเว็บ http://plankkw.blogspot.com/ และส่งใบสมัครกลับคืนโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2555 เพื่อทางโรงเรียนจะดำเนินการพิจารณาคัดเลือกต่อไป

คุณสมบัติโรงเรียนที่ควรเข้าร่วมโครงการ
1. ยังไม่ผ่านการประเมินภายนอกรอบ 3หรือผ่านแต่ผลการประเมินไม่น่าพอใจและมีความต้องการพัฒนาตนเองอย่างยิ่งยวด
2. กรณีโรงเรียนประถมศึกษาควรเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาด้วย หรือหากโรงเรียนของท่านไม่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาแต่มีความต้องการเข้าร่วมโครงการ โรงเรียนก็จะได้รับพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
3.  ยินดีเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการอย่างสม่ำเสมอ


                อนึ่ง ผลการพิจารณาโรงเรียนเข้าร่วมโครงการถือเป็นเอกสิทธิ์ของโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จะเรียกร้องใด ๆ มิได้
 โหลดใบสมัครได้จากลิ้งค์นี้ครับ
(หมายเหตุ เปิดเข้าไปจะเป็นเว็บการ์ตูนอย่าตกใจรอประมาณ 20 วินาที จะมีปุ่มให้โหลดไฟล์ครับ)

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พิธีลงนามความเข้าใจโรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนา

ชาวขอนแก่นวิทยายนยินดีต้อนรับ

โรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนา

ตามโครงการ 1 ช่วย 9

ด้วยความยินดียิ่ง 

19  มิถุนายน  2555

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สารสนเทศเพื่อการประเมินภายนอก

สารสนเทศหลักที่โรงเรียนต้องนำเสนอเพื่อประกอบการประเมินคุณภาพภายนอกมีสารสนเทศที่สำคัญดังนี้
  1. สารสนเทศผู้บริหารหรือฝ่ายบริหารโรงเรียน มีสารสนเทศที่ต้องเตรียมและจัดแสดงได้แก่ แฟ้มสะสมผลงานผู้บริหารทุกคน โล่ห์รางวัลเกียรติบัตรที่ได้รับเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ ผลงานเชิงประจักษ์ที่สามารถนำเสนอได้อย่างเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนในทุกด้าน
  2. สารสนเทศครู มีสารสนเทศที่ต้องจัดแสดงและนำเสนอคือ แฟ้มสะสมผลงาน แผนพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ  รายงานการพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ(อาจนำเสนอรวมแบบบูรณาการในรูป SAR) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา  รายงานวิจัยในชั้นเรียน รายงานการพัฒนาสื่อ แบบวัดประเมินผลในรายวิชาที่รับผิดชอบ ทุกชิ้นให้มีย้อนหลัง 3 ปี และทุกคนต้องส่ง
  3. สารสนเทศนักเรียน มีสารสนเทศที่ต้องจัดแสดงหรือนำเสนอดังนี้ แฟ้มสะสมผลงานนักเรียน สมุดบันทึกประจำตัวนักเรียน ปพ.6 
  4. สารสนเทศของครูประจำชั้น มีสารสนเทศที่ต้องนำเสนอคือ รายงานผลการคัดกรองนักเรียนเป็นรายชั้นเรียน รายงานผลการส่งต่อหรือการพัฒนานักเรียนในชั้นเรียน บันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน หลักฐานการติดต่อสัมพันธ์กับผู้ปกครองนักเรียน 
  5. สารสนเทศกลุ่มวิชาการ มีสารสนเทศที่ต้องนำเสนอดังนี้ หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่น โครงการรักการอ่าน โครงการพัฒนาการเรียนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง  ผลวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกรายวิชาทุกระดับ ระบบแก้ศูนย์ ร มส. ระบบการวัดผลประเมินผล ระบบการเรียนรู้ของโรงเรียน ระบบการนิเทศการเรียนการสอน ระบบงานบริการวิชาการแก่ชุมชน ระบบแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ระบบการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
  6. สารสนเทศกลุ่มอำนวยการ มีสารสนเทศที่ต้องนำเสนอคือ ระบบบริหารงานบุคลากร รายงานการพัฒนาบุคลากร  ผลการประเมินความพึงพอใจต่อสถานศึกษา ระบบบริหารจัดการอาคารสถานที่ ระบบบริการชุมชน ระบบบริการและสวัสดิการนักเรียน การมีส่วนร่วมกับชุมชน ระบบงานสารบรรณ
  7. สารสนเทศกลุ่มกิจการนักเรียน มีสารสนเทศที่ต้องนำเสนอคือ ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โครงการโรงเรียนสีขาว โครงการส่งเสริมประชาธิปไตย โครงการเสริมสร้างวินัย โครงการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ข้อมูลปัญหานักเรียนและการแก้ไขปัญหา
  8. สารสนเทศกลุ่มแผนงาน มีสารสนเทศที่สำคัญดังนี้ แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ 3 ปีย้อนหลัง รายงานประเมินแผน 3 ปีย้อนหลัง รายงานการประเมินคุณภาพภายใน หรือรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนย้อนหลัง 3 ปี รายงานประจำปี โครงการพัฒนาที่ดีเด่นของสถานศึกษาทุกโครงการ ระบบงานบัญชี ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ระบบงานพัสดุ รายงานการตรวจสอบภายใน ระบบงานสารสนเทศโรงเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบในการประเมินทุกด้าน
  9. สารสนเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มีสารสนเทศที่ต้องนำเสนอดังนี้ นำเสนอสารสนเทศของครูในกลุ่มสาระทุกคนได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ แผนพัฒนาการเรียนการสอนของครู รายงานการพัฒนาการเรียนการสอนของครู วิจัยชั้นเรียน รายงานการพัฒนาสื่อ แบบวัดผลประเมินผล ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในกลุ่มสาระนั้น ๆ เป็นต้น
นอกจากนี้โรงเรียนยังต้องประเมินเองว่าสารสนเทศใดบ้างที่ยังไม่ครอบคลุมตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของการประเมินภายนอกที่จำเป็นต้องเก็บเพิ่มเติม เช่น การประเมินน้ำหนักส่วนสูงนักเรียน การประเมินความรักต่อบิดามารดาเป็นต้น ดังนั้นฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาจะต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจนว่าโรงเรียนของตนเองจำเป็นต้องเห็บหลักฐานใดตามตัวบ่งชี้เพิ่มเติมบ้างเพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กรอบการเตรียมการเพื่อการประเมินภายนอกรอบ3

โรงเรียนที่จะเข้ารับการประเมินภายนอกรอบ 3 ควรมีการเตรียมการที่สำคัญดังนี้
1.ศึกษามาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินภายนอกรอบสามให้เข้าใจ
2.สังเคราะห์เปรียบเทียบผลการประเมินภายในของตนเองเปรียบเทียบกับมาตรฐานตัวบ่งชี้ของการประเมินภายนอกรอบสาม (ดูตัวอย่างของขอนแก่นวิทย์)
3.วิเคราะห์ว่าหลักฐานและสารสนเทศข้อใดหรือด้านใดที่ยังไม่สอดคล้องเพียงพอในการชี้แจงแต่ละตัวบ่งชี้ และะกำหนดวิธีการและขั้นตอนในการรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน กำหนดผู้รับผิดชอบสารสนเทศในแต่ละตัวบ่งชี้ให้ชัดเจน(โรงเรียนแต่ละโรงอาจใช้วิธีการที่ต่างกันตามบริบทโรงเรียน)
4.ออกคำสั่งเตรียมการประเมินให้ครอบคลุม ภาระงานครูทุกคน พร้อมประชุมชี้แจงการเตรียมการอย่างเป็นระบบ
5.มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเป็นเลขานุการคอยขับเคลื่อนงานทุกระยะอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรายงานความคืบหน้า
6.ผู้บริหารหรือฝ่ายบริหารต้องคอยกำกับติดตามตลอดเวลา
7.เตรียมการจัดแสดงสารสนเทศก่อนการประเมินประมาณ 1 เดือน เพื่อประเมินความพร้อมและสิ่งที่ขาดตกบกพร่องอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดพื้นที่จัดแสดงไว้อย่างชัดเจนเพื่อรองรับการประเมินของคณะกรรมการ
8. เตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินอย่างเป็นระบบ
9. วางรูปแบบการนำเสนอสารสนเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินให้มากที่สุด แต่ทั้งนี้ก็สามารถประยุกต์ได้ตามบริบทของโรงเรียน
10.ประชาสัมพันธ์การประเมินให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักอยู่เสมอ

ของให้ทุกท่านโชคดีครับ

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

แนวทางการเตรียมการเพื่อรับการประเมินภายนอกรอบสาม

แนวทางเตรียมการเพื่อรับการประเมินภายนอกรอบสาม สำหรับโรงเรียนเครือข่าย 1 ช่วย 9 ขอนแก่นวิทยายน โรงเรียนทุกโรงควรดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้


ปฏิทินเตรียมการเพื่อรองรับการประเมินภายนอกสำหรับโรงเรียนเครือข่าย 1 ช่วย 9
ภาระงาน
เวลา
ผู้รับผิดชอบ
1.       ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้รับทราบภาระงานสำหรับการประเมินภายนอก
เมษายน 2555
ฝ่ายบริหารโรงเรียน
2.       ออกคำสั่งแต่งตั้งผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ดำเนินงานจัดทำสารสนเทศเพื่อการประเมิน
2.1 สารสนเทศโรงเรียน
2.2 สารสนเทศกลุ่มงานต่าง ๆ คือ อำนวยการ วิชาการ กิจการนักเรียนและแผนงาน
2.3 สารสนเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้
2.4 สาระสนเทศครู
2.5 สารสนเทศนักเรียน
เมษายน -พฤษภาคม 2555
ฝ่ายบริหารโรงเรียนและคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง
3.       เก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศตามแนวทางที่กำหนด โดยศึกษาและดาวน์โหลดเอกสารแนวทางได้จากเว็บไซต์นี้
เมษายน -พฤษภาคม 2555
คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง
4.       ประชุมทบทวนสารสนเทศทั้งหมด
และรับการนิเทศจากโรงเรียนแม่แบบ (ขอนแก่นวิทยายน)
พฤษภาคม-มิถุนายน  2555
ฝ่ายบริหารโรงเรียนและคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง
5.       เก็บรวบรวมสารสนเทศเพิ่มเติมตามข้อเสนอแนะโรงเรียนแม่แบบ
มิถุนายน 2555
คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง
6.       แต่งตั้งคณะกรรมการจัดแสดงสารสนเทศประกอบการประเมินภายนอก
มิถุนายน 2555
ฝ่ายบริหารโรงเรียน
7.       ประชุมเตรียมพร้อมจัดแสดงสารสนเทศประกอบการประเมินภายนอก
มิถุนายน-กรกฎาคม 2555
คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง
8.       แต่งตั้งคณะกรรมการรับการประเมินภายนอก
มิถุนายน 2555
ฝ่ายบริหารโรงเรียน
9.       ประชุมมอบหมายงานและประสานงานฝ่าย
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


10.   เข้ารับการประเมินภายนอกตามระยะเวลาที่กำหนด
กำหนดการของ
สมศ.
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

 หมายเหตุ . ระยะเวลาอาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม


ผลการประเมินภายนอกรอบสาม


ผลการประเมินภายนอกรอบ 3 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ปีการศึกษา 2554 
ผลการดำเนินงานของโรงเรียนและเข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกที่ผ่านมาโดยคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายนอกสรุปผลการประเมินได้ดังนี้

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(มัธยมศึกษา)
น้ำหนัก
(คะแนน)
คะแนน
ที่ได้
ระดับ
คุณภาพ
มาตรฐานที่ 1 ผลการจัดการศึกษา



กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน



ตัวบ่งชี้ที่ 1
ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
10.00
9.53
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 2
ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
10.00
9.39
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 3
ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
10.00
9.38
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 4
ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น
10.00
9.21
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 5
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
20.00
11.65
พอใช้
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์



ตัวบ่งชี้ที่ 9
ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ
และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา
5.00
5.00
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ 10
ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน
เป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
5.00
5.00
ดีมาก
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม



ตัวบ่งชี้ที่ 11
ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาท
ของสถานศึกษา
5.00
5.00
ดีมาก
มาตรฐานที่ 2 การบริหารการจัดการศึกษา



กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน



ตัวบ่งชี้ที่ 7
ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาการศึกษา
5.00
5.00
ดีมาก
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม



ตัวบ่งชี้ที่ 12
ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน
รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ที่สอดคล้อง
กับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
5.00
5.00
ดีมาก
มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ



กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน



ตัวบ่งชี้ที่ 6
ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
10.00
10.00
ดีมาก
มาตรฐานที่ 4 ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน



กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน



ตัวบ่งชี้ที่ 8       พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษา
                         และต้นสังกัด
5.00
5.00
ดีมาก
ผลรวมคะแนนทั้งหมด
100.00
89.16
ดีมาก