วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แนวทางพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก

โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีปัญหาด้านการบริหาร   จัดการศึกษาให้มีคุณภาพ จากสาเหตุการขาดแคลนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ สามารถดำเนินการ จัดในรูปแบบโรงเรียนเครือข่ายการรวมโรงเรียนในลักษณะต่างๆ ได้ โดยโรงเรียนหลักและโรงเรียนเครือข่ายวางแผนการดำเนินการร่วมกัน ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการโรงเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กไปสู่ความสำเร็จอีกวิธีหนึ่งคือ การจัดทำเครือข่ายของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการสร้างความเข้าใจของปัญหาการจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่มีคุณภาพ จะทำอย่างไร เหตุใด ต้องปรับปรุงพัฒนากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคคลที่เกี่ยวข้องเพราะจะเป็นเงื่อนไขของความสำเร็จในงานโรงเรียนขนาดเล็กในด้านอื่นต่อไป ปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารจัดการทุกด้าน เพื่อให้การปฏิบัติงานให้โรงเรียนขนาดเล็กในลักษณะศูนย์โรงเรียนไม่เป็นการสร้างภาระงานเพิ่มขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ เช่น งานธุรการในชั้นเรียนงานบริหารงานบุคคล การบริหารงานวิชาการ งานบริหารทั่วไป
วิธีการสร้างเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก
5.1 โรงเรียนขนาดเล็กที่มุ่งพัฒนาการสอนในโรงเรียน เป็นโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลจากโรงเรียนอื่นเกิน 3 กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมยากลำบากต่อการเดินทางของนักเรียน มีจำนวนนักเรียน และครู     ปานกลาง ยังคงจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไว้ได้ แนวโน้มนักเรียนค่อนข้างคงที่เพิ่ม-ลด ในอนาคตไม่มากนัก โรงเรียนสามารถบริหารจัดการเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพได้ดำเนินวิธีการจะจัดเป็น  4  รูปแบบ คือ
5.1.1 แบบผสมผสาน เลือกใช้วิธีการเรียนรวมระดับชั้นหรือช่วงชั้น
5.1.2 เลือกใช้สื่อและเทคโนโลยีช่วยสอน การใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยีประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนของครู
5.1.3 จัดหาครูเพิ่ม เป็นโรงเรียนขนาดเล็กเลือกใช้บุคลากรวัสดุอุปกรณ์หลากหลายแบบรวมกัน
5.2 โรงเรียนขนาดเล็กที่มุ่งพัฒนาเด็กเล็ก โดยการเคลื่อนย้ายนักเรียน เป็นโรงเรียนที่มีจำนวนครูและนักเรียนน้อยมาก จนเป็นปัญหาต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้เต็มศักยภาพและครบถ้วน ขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณจนเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาแก่ผู้เรียนมีแนวโน้มจำนวนนักเรียนคงที่หรือลดลงอย่างต่อเนื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรและไม่เป็นผลดีแก่นักเรียน    ผู้ปกครองและการจัดการศึกษาโดยรวม
วิธีดำเนินการมี 5 รูปแบบ คือ
5.2.1 นำนักเรียนบางชั้นไปเรียนใกล้เคียง เป็นโรงเรียนที่ขาดแคลนครูและวัสดุอุปกรณ์อย่างมาก จนทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพแนวโน้มของจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง นักเรียนและครูบางส่วนเดินทางไปยังโรงเรียนใกล้เคียงได้นักเรียน และครูที่เหลือสามารถ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีขึ้นโรงเรียนประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและชุมชนทราบเหตุผล ข้อเท็จจริงและผลดีของการนำนักเรียนไปเรียนยังโรงเรียนใกล้เคียง แล้วประชุมผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานวางแผนดำเนินการ ส่งแผนของงบประมาณค่าพาหนะและประกันชีวิตเด็กนักเรียนแล้วดำเนินการตามแผน ควบคุม ติดตามและประเมินผลทั้งนักเรียนที่ไปเรียนโรงเรียนใกล้เคียงและนักเรียนที่เหลืออยู่
5.2.2 นำนักเรียนบางชั้นสลับกันกับโรงเรียนใกล้เคียง โดยการนำนักเรียนเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนใกล้เคียงแลกเปลี่ยนกันเป็นช่วงชั้นหรือบางชั้น โดยครูสอนอยู่ที่เดิมมีผลทำให้แต่ละโรงเรียน มีชั้นเรียนลดลงเหมาะสมกับจำนวนครูที่มีอยู่ จำนวนนักเรียนในชั้นที่เปิดสอนมีมากขึ้น ครูที่เหลือสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5.2.3 นำนักเรียนทุกชั้นไปเรียนที่โรงเรียนใกล้เคียงจำนวนนักเรียนแต่ละชั้นน้อยมาก    ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติได้ จำนวนครูมีน้อยมาก ไม่สามารถดูแลจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียน ได้เรียนรู้เต็มศักยภาพได้เพราะขาดวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน เด็กนักเรียนควรได้รับโอกาสทางการศึกษาจากโรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สูงกว่าเนื่องจากรัฐไม่สามารถเพิ่มจำนวนครู งบประมาณ อุปกรณ์และเทคโนโลยีอย่างเพียงพอให้กับโรงเรียนเหล่านี้ได้อีกทั้งนักเรียนสามารถเดินทางไปโรงเรียนใกล้เคียงได้อย่างไม่ลำบากนัก เอกสารหลักฐาน ตำแหน่งผู้บริหารครู นักเรียน อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ยังเป็นของโรงเรียนเดิมแต่ครูและนักเรียนได้ไปเรียนและปฏิบัติการสอนยังโรงเรียนแห่งใหม่แล้ว โรงเรียนไม่ได้ยุบหรือล้มเลิก
5.2.4 ยุบเลิกล้มโรงเรียน จำนวนนักเรียนและครูน้อยมาก ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติได้ ครูไม่สามารถดูแลให้นักเรียนได้เรียนรู้เต็มศักยภาพเพราะขาดวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนขนาดเล็กขาดแคลนจำนวนนักเรียนในอนาคตไม่เพิ่มขึ้นและรัฐไม่สามารถเพิ่มจำนวนครู วัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยีต่อการจัดการศึกษาในโรงเรียนเหล่านี้ได้และการเดินทางไปยังโรงเรียนใกล้เคียงไม่ลำบากนักจึงให้ทำการยุบ ล้มเลิกโรงเรียนได้
5.2.5 การสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีโรงเรียนขนาดเล็กตั้งกระจายอยู่ทุกพื้นที่ ได้กำหนดแนวทาง การดำเนินงานบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยให้สังคมได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (All for Education) ประกอบด้วยบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นๆ มุ่งให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในขั้นตอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดวัยเรียนโดยมีรูปแบบของการมีส่วนร่วมทั้งภายในองค์กรและหน่วยงานภายนอกอื่น ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏหรือสถาบันการศึกษา จัดส่งนักศึกษาฝึกสอน นักศึกษาฝึกงานการพัฒนาครูและบุคลกรทางการศึกษาการผลิตชุดการสอน/สื่อการเรียน
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ สนับสนุนงบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ สื่อ อุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน ครูอัตราจ้าง หรือรับจัดการศึกษาเมื่อมีความพร้อม
3. เครือข่ายแผนแม่บทเพื่อเอาชนะความยากจน จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและพัฒนาอาชีพให้กับชุมชนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกับชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาละยกระดับคุณภาพชีวิต
4. สถาบันศาสนา สถานประกอบการ หน่วยงานองค์กรต่างๆ ให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น/แหล่งเรียนรู้ สนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทุนการศึกษา  สื่อ วัสดุอุปกรณ์
5. เครือข่ายครูในฝัน ครูแกนนำ ครูต้นแบบ ครูแห่งชาติ อาจารย์ 3 ครูในโรงเรียน ที่มีครูเกินชั้นเรียน มีชั่วโมงสอนสัปดาห์ละไม่เกิน 22 ชั่วโมง ผู้บริหารต้นสังกัดอนุญาตให้ไปสอนโรงเรียนขนาดเล็ก 3 – 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ใช้แผนการสอนเดียวกับที่สอนในโรงเรียนต้นสังกัด ผลการสอนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและได้ค่าตอบแทนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคือความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน แบบศูนย์ระดับตำบล แบบเรียนรวมช่วงชั้น ความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน และองค์กรบริหารส่วนตำบลที่มีต่อการเรียนการสอนแบบศูนย์โรงเรียนระดับตำบลแบบรวมเรียนช่วงชั้นใน 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยการดำเนินการ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านผลผลิต ที่เป็นคุณภาพนักเรียน เงื่อนไขความสำเร็จคือ ผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับ ต้องให้ความสำคัญกับนโยบายมาตรการแนวทางการดำเนินงานที่กำหนดไว้ และแสวงหาความร่วมมือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อเกิดการปฏิบัติจริงในระดับพื้นที่ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ระเบียบปฏิบัติใดที่ไม่เอื้อต่อการจัดการแก้ไขปรับปรุงให้งานมีประสิทธิภาพ หน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครอง ชุมชน ครูนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดสรร ค่าพาหนะค่าเบี้ยประกันชีวิตให้กับนักเรียนหรือการได้รับการสนับสนุนดูแลด้านอื่น ๆเช่น เงินอุดหนุนอาหารเสริม เสื้อผ้า เครื่องเขียน แบบเรียน ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จะต้องมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานจากผู้เกี่ยวข้องในระดับสูงกว่าเพื่อเป็นหลักประกัน ในการบริหารจัดการ นอกจากนั้นหากผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้ดำเนินการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว รัฐต้องพิจารณาให้ขวัญและกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่รูปของเงินค่าตอบแทนการพิจารณาความดีความชอบ การให้สวัสดิการอื่นๆ ในส่วนที่เป็นเงินค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์พิเศษต่อหน่วยงาน โรงเรียน การบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็กจะมีคุณภาพได้ หากใช้ระบบการทำงานแบบมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ โดยดำเนินการอย่างสร้างสรรค์ บริสุทธิ์ใจการจัดการที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดร่วมวางแผนและประเมินผลร่วมกัน เช่น กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิง ปิ่นนรา บัวอิ่นหน่วยงาน : กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สพท.พะเยา

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงการสร้างเครือข่ายพัฒนาบุคลิกภาพด้านคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ในกลุ่มโรงเรียนเครือข่าย 1 ช่วย 9



โครงการสร้างเครือข่ายพัฒนาบุคลิกภาพด้านคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน
ในกลุ่มโรงเรียนเครือข่าย 1 ช่วย 9

หลักการและเหตุผล
            โครงการ 1 ช่วย 9 ตามแนวทางของ สมศ. กำหนดให้โรงเรียนเครือข่ายมีการจัดทำกิจกรรมร่วมกันในรูปแบบต่าง ๆเพื่อเป็นการพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายให้มีคุณภาพสูงขึ้น ปัญหาที่สำคัญจากการประเมินร่วมกันของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายขอนแก่นวิทยายนคือ คุณภาพผู้เรียนยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเมื่อวิเคราะห์สาเหตุแล้วพบว่า นักเรียนในกลุ่มเครือข่ายเองยังมีคุณลักษณะการใฝ่เรียนใฝ่รู้ที่ต่ำ รวมทั้งการได้รับค่านิยมผิด ๆ จากสังคมยุคใหม่ค่อนข้างสูง ทำให้นักเรียนกำหนดบทบาทหรือสร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสมของตนเองไม่ได้ ดังนั้นการพัฒนาเพื่อสร้างเสริมบุคลิกภาพที่เหมาะสม จึงเป็นแนวทางต้น ๆ ที่ควรจะร่วมกันสร้างเสริมให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียน เพราะหากนักเรียนมีการพัฒนาบุคลิกภาพเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้มีค่านิยมที่เหมาะสมย่อมส่งผลดีต่อการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
            จากบุคลิกภาพที่โดดเด่นของนักเรียนโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ในด้านการเป็นบุคคลใฝ่เรียนใฝ่รู้ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนส่วนใหญ่ในโรงเรียนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ เป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไป ซึ่งแบบอย่างที่ดีเหล่านี้จะได้รับคัดสรรเพื่อเป็นต้นแบบในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักเรียนเครือข่าย รวมทั้งการจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมเพื่อสร้างค่านิยมที่เหมาะสม ย่อมจะเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนที่ร่วมกิจกรรม มีการซึมซับเอาสิ่งที่ดีงามไปสู่การพัฒนาเปลี่ยนแปลงตนเอง
การสร้างเครือข่ายของนักเรียนเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพด้านคุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสม โดยให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเพื่อนที่มีความพร้อมมากกว่า รวมทั้งการใช้สื่อเสริมที่เหมาะสม ย่อมจะเป็นแนวทางส่งเสริมให้นักเรียนมีการเลือก หรือคัดสรร หรือกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองในแนวทางที่เหมาะสมได้ โดยเน้นการสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาด้านบุคลิกภาพ ด้านการเป็นบุคคลใฝ่เรียนใฝ่รู้และบุคลิกภาพด้านคุณธรรม จริยธรรม
            ด้วยเหตุผลดังกล่าวโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จึงได้จัดให้ มีโครงการสร้างเครือข่ายพัฒนาบุคลิกภาพด้านคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนเครือข่าย 1 ช่วย 9 ขึ้น โดยมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเป็นสื่อกลางในการพัฒนานักเรียน ในระดับหรือวัยใกล้เคียงกันในโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.      เพื่อสร้างเครือข่ายการพัฒนาบุคลิกภาพด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนในโรงเรียนเครือข่าย
2.      เพื่อให้นักเรียนได้ร่วมกันทำกิจกรรมถ่ายทอดแบบแผนด้านบุคลิกภาพที่เหมาะสมด้านการเรียนรู้ให้กับนักเรียนโรงเรียนเครือข่าย
3. เพื่อเสริมสร้างสื่อการเรียนรู้ในการพัฒนาบุคลิกภาพด้านคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียนโรงเรียนเครือข่าย 
เป้าหมายของโครงการ

1.  โรงเรียนเครือข่ายโครงการ 1 ช่วย 9 จำนวน 7 โรงเรียน โดยมีเป้าหมายดำเนินงานระยะที่ 1 จำนวน 3 โรงเรียน
2.  นักเรียนต้นแบบจากโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนจำนวน 3 ห้องเรียน ออกดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโรงเรียนเครือข่ายครั้งละ 1 ห้องเรียน จำนวน 3 ครั้ง
3.    นักเรียนโรงเรียนเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมครั้งละ 50-100 คน ในโรงเรียนเครือข่ายแต่ละโรงเรียน
วิธีดำเนินงานตามโครงการ
1.      เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
2.      แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานรับผิดชอบโครงการ
3.      ดำเนินงานกิจกรรมตามโครงการ
4.      ประเมินผลการดำเนินงานและรายงาน
กิจกรรมตามโครงการ
1.      กิจกรรมสร้างเครือข่ายพัฒนาบุคลิกภาพนักเรียน  โดยให้นักเรียนทำกิจกรรมกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ที่เหมาะสมด้านการเรียนให้กับนักเรียนในเครือข่าย เน้นสร้างแรงบันดาลใจ ในการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพด้านการเรียนของตนเอง โดยให้นักเรียนโรงเรียนขอนแก่นวิทยายนเป็นต้นแบบในการถ่ายทอดแบบอย่างที่เหมาะสม โดยกิจกรรมกลุ่ม ผ่านการเล่นเกมส์ การแสดงออก หรือสื่อต่าง ๆ
2.      กิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพด้านคุณธรรมจริยธรรม เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพด้านคุณธรรมจริยธรรมโดยการใช้สื่อที่นักเรียนผลิตขึ้นเพื่อนำเสนอให้นักเรียนเครือข่ายได้เรียนรู้ร่วมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3.      กิจกรรมบันเทิง เพื่อสร้างความสนุกสนานคุ้นเคยระหว่างกัน
ระยะเวลาดำเนินงานโครงการ
            สิงหาคม 2556 ถึง กุมภาพันธ์ 2557
งบประมาณดำเนินการ
          งบดำเนินงานโครงการจำนวน 75,000 บาท แบ่งเป็น 3 ครั้งๆ ละ 25,000 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
            -ค่าจัดหายานพาหนะและเชื้อเพลิงครั้งละ ๆ 10,000 บาท
            -ค่าเบี้ยเลี้ยงนักเรียนและครูผู้ร่วมกิจกรรมครั้งละ 10,000 บาท
            -ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมครั้งละ 5,000 บาท
พื้นที่จัดกิจกรรมโครงการ
1.      โรงเรียนสัตติพัฒนกิจวิทยา 257 ม.6 ต.หนองปลาหมอ อ.โนนศิลา จ.ขอนแก่น
 โทร.043210673
2.      โรงเรียนบึงไทรพิทยาคม  225 ม.2 บ้านดง ต.บ้านดง อ.อุบลรัตน์  จ.ขอนแก่น
โทร.043210804
3.      โรงเรียนประชารัฐพัฒนาการ 39 ม.2 บ้านห้วยไร่ ต.โนนพะยอม อ.ชนบท จ.ขอนแก่น
โทร.043245365
ผู้เกี่ยวข้องในโครงการ
1.      กลุ่มแผนงานและงบประมาณ โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน  จังหวัดขอนแก่น
2.      กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม โรงรียนขอนแก่นวิทยายน 
จังหวัดขอนแก่น
3.      คณะกรรมการบริหารโรงเรียนและฝ่ายบริหารโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น
4.      โรงเรียนเครือข่ายโครงการ 1 ช่วย 9

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ
            1.นักเรียนโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ได้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม และช่วยเหลือนักเรียนที่มีทางเลือกที่น้อยกว่าในการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
            2.นักเรียนโรงเรียนในโครงการได้ฝึกประสบการณ์ด้านคุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง
            3.โรงเรียนเครือข่ายโครงการ 1 ช่วย 9 ได้ร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เพิ่มสูงขึ้น


                                  


วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

สรุปผลการดำเนินงานโครงการ 1 ช่วย 9 ในรอบปีที่ผ่านมา



บันทึกการดำเนินงานของสถานศึกษาแกนนำรอบที่ 1
(ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันายน 2555)
ชื่อสถานศึกษาแกนนำ  โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน