วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

แนวทางพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก

โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีปัญหาด้านการบริหาร   จัดการศึกษาให้มีคุณภาพ จากสาเหตุการขาดแคลนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ สามารถดำเนินการ จัดในรูปแบบโรงเรียนเครือข่ายการรวมโรงเรียนในลักษณะต่างๆ ได้ โดยโรงเรียนหลักและโรงเรียนเครือข่ายวางแผนการดำเนินการร่วมกัน ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการโรงเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กไปสู่ความสำเร็จอีกวิธีหนึ่งคือ การจัดทำเครือข่ายของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการสร้างความเข้าใจของปัญหาการจัดการโรงเรียนขนาดเล็กที่มีคุณภาพ จะทำอย่างไร เหตุใด ต้องปรับปรุงพัฒนากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคคลที่เกี่ยวข้องเพราะจะเป็นเงื่อนไขของความสำเร็จในงานโรงเรียนขนาดเล็กในด้านอื่นต่อไป ปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารจัดการทุกด้าน เพื่อให้การปฏิบัติงานให้โรงเรียนขนาดเล็กในลักษณะศูนย์โรงเรียนไม่เป็นการสร้างภาระงานเพิ่มขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติ เช่น งานธุรการในชั้นเรียนงานบริหารงานบุคคล การบริหารงานวิชาการ งานบริหารทั่วไป
วิธีการสร้างเครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก
5.1 โรงเรียนขนาดเล็กที่มุ่งพัฒนาการสอนในโรงเรียน เป็นโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลจากโรงเรียนอื่นเกิน 3 กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมยากลำบากต่อการเดินทางของนักเรียน มีจำนวนนักเรียน และครู     ปานกลาง ยังคงจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไว้ได้ แนวโน้มนักเรียนค่อนข้างคงที่เพิ่ม-ลด ในอนาคตไม่มากนัก โรงเรียนสามารถบริหารจัดการเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพได้ดำเนินวิธีการจะจัดเป็น  4  รูปแบบ คือ
5.1.1 แบบผสมผสาน เลือกใช้วิธีการเรียนรวมระดับชั้นหรือช่วงชั้น
5.1.2 เลือกใช้สื่อและเทคโนโลยีช่วยสอน การใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยีประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนของครู
5.1.3 จัดหาครูเพิ่ม เป็นโรงเรียนขนาดเล็กเลือกใช้บุคลากรวัสดุอุปกรณ์หลากหลายแบบรวมกัน
5.2 โรงเรียนขนาดเล็กที่มุ่งพัฒนาเด็กเล็ก โดยการเคลื่อนย้ายนักเรียน เป็นโรงเรียนที่มีจำนวนครูและนักเรียนน้อยมาก จนเป็นปัญหาต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้เต็มศักยภาพและครบถ้วน ขาดแคลนวัสดุ อุปกรณ์และงบประมาณจนเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาแก่ผู้เรียนมีแนวโน้มจำนวนนักเรียนคงที่หรือลดลงอย่างต่อเนื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรและไม่เป็นผลดีแก่นักเรียน    ผู้ปกครองและการจัดการศึกษาโดยรวม
วิธีดำเนินการมี 5 รูปแบบ คือ
5.2.1 นำนักเรียนบางชั้นไปเรียนใกล้เคียง เป็นโรงเรียนที่ขาดแคลนครูและวัสดุอุปกรณ์อย่างมาก จนทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพแนวโน้มของจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง นักเรียนและครูบางส่วนเดินทางไปยังโรงเรียนใกล้เคียงได้นักเรียน และครูที่เหลือสามารถ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดีขึ้นโรงเรียนประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและชุมชนทราบเหตุผล ข้อเท็จจริงและผลดีของการนำนักเรียนไปเรียนยังโรงเรียนใกล้เคียง แล้วประชุมผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานวางแผนดำเนินการ ส่งแผนของงบประมาณค่าพาหนะและประกันชีวิตเด็กนักเรียนแล้วดำเนินการตามแผน ควบคุม ติดตามและประเมินผลทั้งนักเรียนที่ไปเรียนโรงเรียนใกล้เคียงและนักเรียนที่เหลืออยู่
5.2.2 นำนักเรียนบางชั้นสลับกันกับโรงเรียนใกล้เคียง โดยการนำนักเรียนเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนใกล้เคียงแลกเปลี่ยนกันเป็นช่วงชั้นหรือบางชั้น โดยครูสอนอยู่ที่เดิมมีผลทำให้แต่ละโรงเรียน มีชั้นเรียนลดลงเหมาะสมกับจำนวนครูที่มีอยู่ จำนวนนักเรียนในชั้นที่เปิดสอนมีมากขึ้น ครูที่เหลือสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5.2.3 นำนักเรียนทุกชั้นไปเรียนที่โรงเรียนใกล้เคียงจำนวนนักเรียนแต่ละชั้นน้อยมาก    ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติได้ จำนวนครูมีน้อยมาก ไม่สามารถดูแลจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียน ได้เรียนรู้เต็มศักยภาพได้เพราะขาดวัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยีที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน เด็กนักเรียนควรได้รับโอกาสทางการศึกษาจากโรงเรียนที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สูงกว่าเนื่องจากรัฐไม่สามารถเพิ่มจำนวนครู งบประมาณ อุปกรณ์และเทคโนโลยีอย่างเพียงพอให้กับโรงเรียนเหล่านี้ได้อีกทั้งนักเรียนสามารถเดินทางไปโรงเรียนใกล้เคียงได้อย่างไม่ลำบากนัก เอกสารหลักฐาน ตำแหน่งผู้บริหารครู นักเรียน อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ยังเป็นของโรงเรียนเดิมแต่ครูและนักเรียนได้ไปเรียนและปฏิบัติการสอนยังโรงเรียนแห่งใหม่แล้ว โรงเรียนไม่ได้ยุบหรือล้มเลิก
5.2.4 ยุบเลิกล้มโรงเรียน จำนวนนักเรียนและครูน้อยมาก ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติได้ ครูไม่สามารถดูแลให้นักเรียนได้เรียนรู้เต็มศักยภาพเพราะขาดวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนขนาดเล็กขาดแคลนจำนวนนักเรียนในอนาคตไม่เพิ่มขึ้นและรัฐไม่สามารถเพิ่มจำนวนครู วัสดุ อุปกรณ์และเทคโนโลยีต่อการจัดการศึกษาในโรงเรียนเหล่านี้ได้และการเดินทางไปยังโรงเรียนใกล้เคียงไม่ลำบากนักจึงให้ทำการยุบ ล้มเลิกโรงเรียนได้
5.2.5 การสร้างเครือข่าย การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีโรงเรียนขนาดเล็กตั้งกระจายอยู่ทุกพื้นที่ ได้กำหนดแนวทาง การดำเนินงานบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยให้สังคมได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (All for Education) ประกอบด้วยบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นๆ มุ่งให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในขั้นตอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดวัยเรียนโดยมีรูปแบบของการมีส่วนร่วมทั้งภายในองค์กรและหน่วยงานภายนอกอื่น ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏหรือสถาบันการศึกษา จัดส่งนักศึกษาฝึกสอน นักศึกษาฝึกงานการพัฒนาครูและบุคลกรทางการศึกษาการผลิตชุดการสอน/สื่อการเรียน
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ สนับสนุนงบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ สื่อ อุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน ครูอัตราจ้าง หรือรับจัดการศึกษาเมื่อมีความพร้อม
3. เครือข่ายแผนแม่บทเพื่อเอาชนะความยากจน จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและพัฒนาอาชีพให้กับชุมชนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกับชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาละยกระดับคุณภาพชีวิต
4. สถาบันศาสนา สถานประกอบการ หน่วยงานองค์กรต่างๆ ให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ สนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่น/แหล่งเรียนรู้ สนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทุนการศึกษา  สื่อ วัสดุอุปกรณ์
5. เครือข่ายครูในฝัน ครูแกนนำ ครูต้นแบบ ครูแห่งชาติ อาจารย์ 3 ครูในโรงเรียน ที่มีครูเกินชั้นเรียน มีชั่วโมงสอนสัปดาห์ละไม่เกิน 22 ชั่วโมง ผู้บริหารต้นสังกัดอนุญาตให้ไปสอนโรงเรียนขนาดเล็ก 3 – 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ใช้แผนการสอนเดียวกับที่สอนในโรงเรียนต้นสังกัด ผลการสอนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีและได้ค่าตอบแทนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคือความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน แบบศูนย์ระดับตำบล แบบเรียนรวมช่วงชั้น ความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน และองค์กรบริหารส่วนตำบลที่มีต่อการเรียนการสอนแบบศูนย์โรงเรียนระดับตำบลแบบรวมเรียนช่วงชั้นใน 3 ด้าน คือ ด้านปัจจัยการดำเนินการ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านผลผลิต ที่เป็นคุณภาพนักเรียน เงื่อนไขความสำเร็จคือ ผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับ ต้องให้ความสำคัญกับนโยบายมาตรการแนวทางการดำเนินงานที่กำหนดไว้ และแสวงหาความร่วมมือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกระดับ เพื่อเกิดการปฏิบัติจริงในระดับพื้นที่ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ระเบียบปฏิบัติใดที่ไม่เอื้อต่อการจัดการแก้ไขปรับปรุงให้งานมีประสิทธิภาพ หน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครอง ชุมชน ครูนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดสรร ค่าพาหนะค่าเบี้ยประกันชีวิตให้กับนักเรียนหรือการได้รับการสนับสนุนดูแลด้านอื่น ๆเช่น เงินอุดหนุนอาหารเสริม เสื้อผ้า เครื่องเขียน แบบเรียน ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จะต้องมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานจากผู้เกี่ยวข้องในระดับสูงกว่าเพื่อเป็นหลักประกัน ในการบริหารจัดการ นอกจากนั้นหากผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้ดำเนินการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว รัฐต้องพิจารณาให้ขวัญและกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่รูปของเงินค่าตอบแทนการพิจารณาความดีความชอบ การให้สวัสดิการอื่นๆ ในส่วนที่เป็นเงินค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์พิเศษต่อหน่วยงาน โรงเรียน การบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็กจะมีคุณภาพได้ หากใช้ระบบการทำงานแบบมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ โดยดำเนินการอย่างสร้างสรรค์ บริสุทธิ์ใจการจัดการที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดร่วมวางแผนและประเมินผลร่วมกัน เช่น กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิง ปิ่นนรา บัวอิ่นหน่วยงาน : กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สพท.พะเยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น